วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบงานกิจกรรม ตลาดของหนูเอง ส่งจันทร์23 สิงหาคม 2553




ลำดับ

ชนิด

คุณสมบัติ

1

สะเดา (Neem tree)

มีเบต้าแคโรทีนสูง บำรุงสายตา เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ

2

ผักกาดขาว (Chinese white cabbage)

ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์

3

ต้นหอม (Shallot)

มีน้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง

4

แครอท (Carrot)

เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง มีแคลเซียม แพคเตท ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้

5

หอมหัวใหญ่ (Onion)

มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

6

คะน้า (Chinese kale)

มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง

7

พริก (Chilli)

มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ

8

กระเจี๊ยบเขียว (Okra)

ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ

9

ผักกระเฉด(Water mimosa)

ดับพิษไข้ กากใยช่วยระบบขับของเสีย เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร

10

ตำลึง (Ivy gourd)

มีวิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา เส้นใยจับไนเตรต ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร

11

มะระ (Chinese bitter cucumber)

มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นยาระบายอ่อน ๆ น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด

12

ผักบุ้ง (Water spinach)

บรรเทาอาการร้อนใน มีวิตามินเอบำรุงสายตา ธาตุเหล็กบำรุงเลือด

13

ขึ้นฉ่าย (Celery)

กลิ่นหอม ช่วยเจริญอาหาร มีวิตามินเอ บี และซี บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

14

เห็ด (Mushroom)

แคลอรีน้อย ไขมันต่ำ มีวิตามินดีสูง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน

15

บัวบก (Indian pennywort)

มีวิตามินบีสูง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ

16

สะระแหน่ (Kitchen mint)

กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น ทำให้ความคิดแจ่มใส แก้ปวดหัว

17

ชะพลู (Cha-plu)

รสชาติเผ็ดเล็กน้อย แก้จุกเสียด ขับเสมหะ มีแคลเซียมสูง

18

ชะอม (Cha-om)

ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ขับลมในลำไส้ มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ

19

หัวปลี (Banana flower)

รสฝาด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม มีกากใย โปรตีน และวิตามินซีสูง

20

กระเทียม (Garlic)

ลดไขมันในเลือด ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง

21

โหระพา (Sweet basil)

น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก ช่วยระบายลม มีเบต้าแคโรทีน แคลเซียม

22

ขิง (Ginger)

บรรเทาอาการหวัดเย็น ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ

23

ข่า (Galangal)

น้ำมันหอมระเหย ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา

24

กระชาย (Wild ginger)

บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ มีวิตามินเอและแคลเซียม

25

ถั่วพู (Winged bean)

ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสาร ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว

26

ดอกขจร (Cowslip creeper)

กระตุ้นให้รู้รสอาหาร ให้พลังงานสูง ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

27

ถั่วฝักยาว (Long bean)

มีเส้นใย ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก บำรุงเลือด

28

มะเขือเทศ (Tomato)

มีวิตามินเอสูง วิตามินซี รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และแก้อาการคอแห้ง

29

กะหล่ำปลี (White cabbage)

มีกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง และมีวิตามินซีสูง

30

มะเขือพวง (Plate brush eggplant)

ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส

31

ผักชี (Chinese paraley)

ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร มีน้ำมันหอมระเหย แก้หวัด มีวิตามินเอและซีสูง

32

กุยช่าย (Flowering chives)

มีกากใยช่วยระบายของเสีย มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง

33

ผักกาดหัว (Chinese radish)

แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มภูมิต้านทางโรค มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี

34

กะเพรา (Holy basil)

แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง มีเบต้าแคโรทีนสูง ป้องกันโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือดได้

35

แมงลัก (Hairy basil)

ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับลม ขับเหงื่อ

36

ดอกแค (Sesbania)

กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา

ประโยชน์ของผักคะน้า

ใครที่ชอบทานผักคะน้า ทราบหรือไม่ว่ามีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย วันนี้เกร็ดความรู้มีประโยชน์ของผักคะน้ามาฝากกัน....


ผักคะน้าเป็นผักที่หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นผักที่มีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้า แคโรทีนถึง 186.92 ไมโครกรัม/100 กรัม ซึ่งเป็นสารตัวหนึ่งของวิตามินเอ มีคุณสมบัติ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ


นอกจากจะมีเบต้า แคโรทีนแล้ว

ผักคะน้ายังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก


รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมหันมาทาน
ผักคะน้ากันเยอะ ๆ เพื่อสุขภาพที่ดี.

รายละเอียด :
ฟักแม้ว (Chayote) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sechium edule (Jacq) Swartz. หรือเรียกตามพื้นบ้านว่า มะระหวาน หรือแตงกะเหรี่ยง แต่เดิมนั้นฟักแม้วมีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ อย่างคอสตาริกา เม็กซิโก และกัวเตมาลา สำหรับเมืองไทยแล้ว ฟักแม้วจะมีมากและปลูกเยอะในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และจังหวัดทางเหนือ

ฟักแม้ว (Chayote)



ช่วงที่มีมากและได้ฟักแม้วที่อร่อยคือ ช่วงฤดูฝน ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะนิยมกินยอดอ่อนของฟักแม้ว โดยนำไปผัดกับน้ำมันหรือน้ำมันหอย ส่วนลูกหรือผลฟักแม้วก็นิยมไปต้มทำแกงจืด แกงส้ม หรือว่าผัดก็ได้ เพราะมีรสหวาน กรอบ อร่อย ขณะที่บางคนชอบนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก

แต่ที่หลายคนอาจจะไม่รู้คือ ฟักแม้วเป็นผักที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารมากมาย ช่วยทั้งในเรื่องของระบบขับถ่าย ย่อยอาหาร รวมไปถึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง เมื่อพูดถึงผักแล้ว คนส่วนใหญ่มักคิดว่ากินผักหน้าฝนดีกว่าหน้าอื่นๆ แต่จริงๆ แล้วถึงหน้าฝนจะเป็นช่วงที่มีผักให้เลือกรับประทานเยอะ แต่ผักที่อร่อย และมีรสหวานจริงๆ ต้องเป็นผักหน้าหนาวเพราะจะสดอร่อยมีรสหวาน แต่ทั้งนี้ก็อย่าหนาวมาก เพราะผักจะช้ำ อย่างที่รู้กันว่าอากาศนั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตและรสชาติของผักไม่น้อย ไม่เฉพาะแต่คนเท่านั้นหรอกนะคะ ที่มักจะหวั่นไหวหรือ
บางรายถึงกับเจ็บไข้ได้ป่วยไปเลย ยามเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ผักเองก็เหมือนกัน

ทั้งนี้เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน ผักส่วนใหญ่เลยชินกับอากาศร้อนมากกว่า จู่ๆ มาเจอกับอากาศเย็นกะทันหัน นอกจากจะทำให้คนป่วยแล้ว เผลอๆ ผักยังช็อกตามไปด้วย พลอยทำให้วิตามินและคุณค่าทางอาหารต่างๆ หดหายตามไปพร้อมๆ กัน จะรับประทานผักให้ได้ประโยชน์ครบครัน ต้องเลือกผักให้ถูกต้องตามฤดูกาล เพราะทั้งอร่อย สด และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน

ประโยชน์ผักโขม

คนโบราณเชื่อว่ารากและต้นใบมีประโยชน์ในการปรับดุลยภาพระบบปัสสาวะ ทางการแพทย์บอกว่ามีแคลเซี่ยมสูง สีเขียวมีคลอโรฟิล มีกากขับถ่ายดี มีวิตามินอีกตั้งหลายตัว สำคัญไร้สารพิษ นำมาผัดได้ ทำซุบได้ ยำก็ได้(ลวกสุกก่อน) แกงอ่อมก็ได้ ทำได้ตั้งหลายอย่าง หากท่านเป็นตระคิวบ่อย ลองหันมากินผักโขม อาจช่วยได้นะ ประโยชน์เพียบเลย